ประกาศสมาคมปัญญาประดิษฐ์ประเทศไทย

เรื่อง หลักเกณฑ์การเสนอขอจัดทำเอกสารสิ่งพิมพ์ทางวิชาการ

ของสำนักพิมพ์สมาคมปัญญาประดิษฐ์ประเทศไทย

เพื่อให้การดำเนินการจัดทำเอกสารสิ่งพิมพ์ทางวิชาการ ของสำนักพิมพ์สมาคมปัญญาประดิษฐ์ประเทศไทยเป็นไปด้วยความเรียบร้อย

ตามระเบียบสมาคมปัญญาประดิษฐ์ประเทศไทย กำหนดหลักเกณฑ์การเสนอขอจัดทำเอกสาร สิ่งพิมพ์ทางวิชาการ ของสำนักพิมพ์สมาคมปัญญาประดิษฐ์ประเทศไทย ดังนี้

ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศสมาคมปัญญาประดิษฐ์ประเทศไทย เรื่อง หลักเกณฑ์การเสนอขอจัดทำเอกสารสิ่งพิมพ์ทางวิชาการ ของสำนักพิมพ์สมาคมปัญญาประดิษฐ์ประเทศไทย”

ข้อ ๒ ให้ผู้สร้างสรรค์ผลงานที่มีความประสงค์จะดำเนินการจัดทำเอกสารสิ่งพิมพ์ทางวิชาการกับสำนักพิมพ์สมาคมปัญญาประดิษฐ์ประเทศไทย ดำเนินการตามประกาศนี้

ข้อ ๓ รายละเอียดการจัดเตรียมต้นฉบับ

สำนักพิมพ์สมาคมปัญญาประดิษฐ์ประเทศไทย จะจัดพิมพ์เอกสารสิ่งพิมพ์ทางวิชาการที่ผู้สร้างสรรค์ผลงานเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์หรือได้รับอนุญาตมาอย่างถูกต้อง ทั้งนี้ เอกสารสิ่งพิมพ์ทางวิชาการต้องผ่านการพิจารณาจากกองบรรณาธิการ และผู้ทรงคุณวุฒิแล้วเท่านั้น โดยผู้สร้างสรค์ผลงานต้องจัดทำตันฉบับ ตามรูปแบบดังนี้

(๑) ขนาดกระดาษและพื้นที่ของกระดาษที่ใช้พิมพ์

(ก) ขนาดกระดาษ ๘ หน้ายก ๑๙ X ๒๖ ชม. (ขนาด B5)

(ข) ขนาดกระดาษ ๑๖ หน้ายก ๑๔.๕ X ๒๑ ซม. (ขนาด A5)

พื้นที่ของกระดาษที่ใช้พิมพ์ ให้เว้นขอบบน ๒.๕๐ ชม. ขอบหน้า ๒.๗๕ ชม. ขอบหลัง ๒.๕๐ ชม.

และขอบล่าง ๒.๕๐ ซม.

(๒) แบบอักษรและขนาดอักษร

(ก) กรณีจัดพิมพ์เป็นภาษาไทย ใช้แบบอักษรมาตรฐานราชการไทยจากสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมชอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (SIPA) โดยพิจารณาเลือกแบบอักษรแบบใดแบบหนึ่งจาก ๓ แบบ ประกอบด้วย TH SarabunNew, TH Niramit AS หรือ TH Chakra Petch ขนาดอักษร ๑๔ point

(ข) กรณีจัดพิมพ์เป็นภาษาต่างประเทศ ใช้แบบอักษรมาตรฐานราชการไทยจากสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมชอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (SIPA) โดยพิจารณาเลือกแบบอักษรแบบใดแบบหนึ่ง จาก ๓ แบบ ประกอบด้วย TH SarabunNew, TH Niramit AS หรือ TH Chakra Petch ขนาดอักษร ๑๔ point หรือแบบอักษร Time New Roman ขนาดอักษร ๑๐ point

(๓) การนำเสนอตาราง

ตารางที่นำเสนอต้องแสดงรายละเอียดที่ครอบคลุมเนื้อหาทั้งหมด เมื่อนำเสนอข้อมูลไว้ในตารางแล้วควรหลีกเลี่ยงการนำเสนอขัอมูลอีกครั้งในเนื้อความ ควรเขียนชื่อตารางในลักษณะย่อใจความข้อมูล ที่นำเสนอโดยไม่กล่าวซ้ำในหัวข้อย่อยของตารางอีก หัวข้อย่อยของตารางควรสั้นกะทัตรัด

ตารางที่นำเสนอมักเป็นข้อมูลตัวเลขที่แสดงการเปรียบเทียบหรือความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูล โดยข้อมูลที่นำเสนอในตารางควรมีความสอดคล้องกับข้อมูลในส่วนของเนื้อความ หลีกเลี่ยงการใช้ข้อมูลที่ไม่จำเป็น สามารถใช้คำย่อในตารางได้ และควรมีขนาดพอเหมาะกับขนาดกระดาษ

(๔) การนำเสนอรูปภาพ

รูปภาพที่นำเสนอต้องมีความคมชัด มีรายละเอียดของข้อมูลครบถ้วนและเข้าใจได้ง่าย ระบุลำดับของรูปภาพให้สอดคล้องกับเนื้อหาที่อยู่ในตันฉบับและมีขนาดที่เหมาะสมกับขนาดกระดาษ

รูปภาพที่มีเส้นกราฟ ต้องนำเสนอเส้นกราฟแต่ละเส้นที่สามารถแยกความแตกต่งกันได้และมีคุณภาพดี ใช้สัญลักษณ์มาตฐาน (เช่น สี่เหลี่ยม สามเหลี่ยม วงกลม) หรือสัญลักษณ์อื่นเป็นตัวแทนการนำเสนอได้ หากมีสัญลักษณ์กำกับจะต้องอธิบายสัญลักษณตังกล่วอย่างชัดเจน รวมทั้งอธิบายค่าต่างๆ ในกราฟทั้งหมด

รูปภาพที่เป็นแห่งกราฟ ควรใช้แท่งกราฟขาวดำหรือสีที่ชัดเจน อาจมีลวดลายระบุแสดงความแตกต่างของแต่ละแท่งกราฟได้ ควรหลีกเลี่ยงการใช้แท่งกราฟที่มีลักษณะแรเงา (shading) หากมีสัญลักษณ์กำกับจะต้องอธิบายสัญลักษณ์ดังกล่าวอย่างชัดเจน รวมทั้งอธิบายค่าต่างๆ ในกราฟทั้งหมด

ทั้งนี้ หากมีภาพหรือตารางที่มีลิขสิทธิ์ ให้แนบเอกสารฉบับจริงยืนยันการได้รับอนุญาตให้ใช้ผลงานลิขสิทธิ์ การอ้างอิงภาพหรือตารางต้องระบุแหล่งอ้างอิงให้ชัดเจนและถูกต้อง

(๕) รูปแบบการอ้างอิง

ใช้รูปแบบสากลตามหลักทั่วไป อาทิ

(ก) American Psychological Association style (APA)

(ข) Vancouver Style

(ค) Harvard Style

(๖) การจัดทำดรรชนี หรือดรรชนีเนื้อหาหรือดรรชนีคำค้น

ผู้สร้างสรรค์ผลงานที่เสนอขอจัดทำเอกสารสิ่งพิมพ์ทางวิชาการ ที่มีลักษณะเป็น”ตำรา” จะต้องจัดทำดรรชนี หรือดรรชนีเนื้อหา หรือดรรชนีคำค้นด้วย เพื่อให้การจัดทำผลงานเป็นไปด้วยความถูกต้องและเป็นไปตามหลักมาตรฐานสากล

ข้อ ๖ การเสนอต้นฉบับเพื่อขอพิจารณาจัดพิมพ์

(๑) การรับต้นฉบับ

(ก) ผู้สร้างสรรค์ผลงาน กรอกแบบฟอร์มเสนอขอจัดทำเอกสารสิ่งพิมพ์ทางวิชาการ (สนพ.

๕) และแบบฟอร์มยืนยันการได้รับอนุญาตให้ใช้ผลงานลิขสิทธิ์ (สนพ.๑๐) เสนอต่อสำนักพิมพ์สมาคมปัญญาประดิษฐ์ประเทศไทย พร้อมต้นฉบับสมบูรณ์ (ฉบับจริง) จำนวน ๒ ชุด และซีดีข้อมูลบันทึกด้วย Program Microsoft word จำนวน ๑ แผ่น

เอกสารสิ่งพิมพ์ทางวิชาการที่ขอเสนอจัดพิมพ์ต้องมีคุณภาพ และเป็นผลงานที่ผู้สร้างสรรค์ผลงานได้แต่งขึ้น เรียบเรียง หรือแปลด้วยตนเอง โดยต้องมีเนื้อหาสมบูรณ์ครบถ้วนทั้งรูปภาพและตาราง ตามรายละเอียดดังกล่าวข้างต้น สำนักพิมพ์จะไม่รับพิจารณาตันฉบับที่ละเมิดลิขสิทธิ์ของบุคคลอื่นในกรณีเป็นหนังสือแปล ผู้สร้างสรรค์ผลงานต้องขออนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ พร้อมแนบหลักฐานการได้รับอนุญาตฉบับจริงแนบมาพร้อมกับต้นฉบับด้วย

(ข) สำนักพิมพ์สมาคมปัญญาประดิษฐ์ประเทศไทย ตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารในเบื้องตัน เพื่อสรุปข้อมูลด้านการตลาดเบื้องตัน และเสนอแต่งตั้งคณะอนุกรรมการจัดทำเอกสารสิ่งพิมพ์ทางวิชาการของสำนักพิมพ์ฯ ภายในเวลา ๓ วัน

(๒) การพิจารณาต้นฉบับ

(ก) คณะอนุกรรมการจัดทำเอกสารสิ่งพิมพ์ทางวิชาการ ของสำนักพิมพ์สมาคมปัญญาประดิษฐ์ประเทศไทย ตามที่ได้รับการแต่งตั้งตามกลุ่มสาขาวิชา พิจารณาคุณภาพและความเหมาะสมของตันฉบับที่ขอจัดพิมพ์เบื้องต้น และเสนอผู้ทรงคุณวุฒิ (Reader) เพื่อพิจารณาความถูกต้องสมบูรณ์ของเนื้อหาสิ่งพิมพ์ทางวิชาการ พร้อมทั้งสรุปผลการพิจารณาเพื่อเป็นข้อมูลเสนอต่อกองบรรณาธิการ ภายในเวลา ๑๕ วัน

(ข) กรณีมีมติรับพิมพ์เอกสารสิ่งพิมพ์ทางวิชาการ สำนักพิมพ์จะทำหนังสือแจ้งผู้สร้างสรรค์ผลงานทราบ และจัดส่งตันฉบับให้ผู้ทรงคุณวุฒิ (Reader) ที่เสนอแต่งตั้งโดยคณะอนุกรรมการจัดทำเอกสารสิ่งพิมพ์ทางวิชาการ ของสำนักพิมพ์สมาคมปัญญาประดิษฐ์ประเทศไทย เพื่อตรวจสอบคุณภาพและความถูกต้องของเอกสารสิ่งพิมพ์ทางวิชาการ ภายในเวลา ๗ วัน

กรณีมีมติไม่รับพิมพ์เอกสารสิ่งพิมพ์ทางวิชาการ สำนักพิมพ์สมาคมปัญญาประดิษฐ์ประเทศไทย จะทำหนังสือแจ้งผู้สร้างสรรค์ผลงานทราบ และจัดส่งคืนต้นฉบับหลังการพิจารณาตามข้อ ๖(๒)(ก) ภายในเวลา ๗ วัน

(๓) การตรวจสอบคุณภาพและความถูกต้องของเอกสารสิ่งพิมพ์ทางวิชาการ

สำนักพิมพ์สมาคมปัญญาประดิษฐ์ประเทศไทย ส่งต้นฉบับให้ผู้ทรงคุณวุฒิ (Reader) เพื่อพิจารณาตรวจสอบคุณภาพและความถูกต้องของเอกสารสิ่งพิมพ์ทางวิชาการ ภายในเวลา ๒ เดือน ซึ่งหากผู้ทรงคุณวุฒิมีมติให้แก้ไขคุณภาพของเอกสารสิ่งพิมพ์ทางวิชาการเพิ่มเติม ผู้สร้างสรรค์ผลงานต้องปรับปรุงแก้ไขตามที่ผู้ทรงคุณวุฒิ(Reader) เสนอแนะ และส่งกล้บฉบับที่แก้ไขสมบูรณ์แล้ว จำนวน ๑ ชุด มายังกองบรรณาธิการ ภายในเวลา๑๐ วัน ภายหลังจากที่ได้รับการแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรแล้ว

กรณีที่ผู้สร้างสรรค์ผลงานไม่ดำเนินการปรับปรุงแก้ไขหรือมีความประสงค์ขอถอนเรื่องในระหว่างที่สำนักพิมพ์สมาคมปัญญาประดิษฐ์ประเทศไทย ได้ส่งต้นฉบับให้ผู้ทรงคุณวุฒิ (Reader) ไปแล้วซึ่งมีค่าใช้จ่ายเกิดขึ้น ผู้สร้างสรรค์ผลานต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นดังกล่าวให้แก่สำนักพิมพ์

(๔) กองบรรณาธิการประชุมพิจารณาอนุติการจัดทำเอกสารสิ่งพิมพ์ทางวิชาการ

(ก) กองบรรณาธิการประชุมพิจารณาคุณภาพ ความเหมาะสม และลักษณะประเภทของตัน

ฉบับที่ขอจัดพิมพ์ เพื่อมีมติรับหรือไม่รับเอกสารสิ่งพิมพ์ทางวิชาการเข้าสู่กระบวนการจัดพิมพ์พิจารณาอัตราค่าตอบแทนผู้ทรงคุณวุฒิ (Reader) ค่าลิขสิทธิ์สำหรับผู้สร้างสรรค์ผลงาน และจำนวนเล่มที่จะจัดพิมพ์ การเผยแพร่และจัดจำหน่าย ภายในเวลา ๑๕ วัน

(ข) กรณีมีมติรับพิมพ์เอกสารสิ่งพิมพ์ทางวิชาการ สำนักพิมพ์จะทำหนังสือแจ้งผู้สร้างสรรค์ผลงานทราบ ภายในเวลา ๗ วัน และหากกองบรรณาธิการมรมติให้แก้ไขคุณภาพของเอกสารสิ่งพิมพ์ทางวิชาการเพิ่มเติม ผู้สร้างสรรค์ผลงานต้องปรับปรุงแก้ไขตามที่กองบรรณาธิการเสนอแนะและส่งกลับตันฉบับที่แก้ไขสมบูรณ์แล้ว จำนวน ๑ ชุด มายังกองบรรณาธิการ ภายในวลา ๗ วัน ภายหลังจากที่ได้รับการแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรแล้ว

กรณีมีมติไม่รับพิพ์เอกสารสิ่งพิมพ์ทางวิชาการ สำนักพิมพ์สมาคมปัญญาประดิษฐ์ประเทศไทยจะทำหนังสือแจ้งผู้สร้างสรรค์ผลงานทราบ และจัดส่งคืนต้นฉบับหลังการพิจารณาตามข้อ ๖(๔)(ก) ภายในเวลา ๗ วัน

ข้อ ๗ การทำสัญญาการจัตพิมพ์และการโอนลิขสิทธิ์

(๑) ผู้สร้างสรรค์ผลงานและผู้สร้างสรรค์ร่วมต้องโอนลิขสิทธิ์ในเอกสารสิ่งพิมพ์ทางวิชาการที่ได้รับการจัดพิมพ์ให้แก่สมาคมปัญญาประดิษฐ์ประเทศไทย เป็นเวลา ๓ ปี โดยทำเป็นหนังสือการโอนลิขสิทธิ์ระหว่างผู้สร้างสรรค์ผลงานกับสมาคมปัญญาประดิษฐ์ประเทศไทย ตามแบบฟอร์มของสำนักพิมพ์สมาคมปัญญาประดิษฐ์ประเทศไทย

(๒) การขยายลิขสิทธิ์ หากพ้นกำหนดเวลาการโอนลิขสิทธิ์ ภายในเวลา ๓ ปีแล้วแต่เอกสารสิ่งพิมพ์ทางวิชาการที่จัพิมพ์ขึ้นยังจำหน่ายไม่หมด ผู้สร้างสรรค์ผสงานและผู้สร้างสรรค์ร่วมต้องยินยอมให้สมาคมปัญญาประดิษฐ์ประเทศไทย ขยายลิขสิทธิ์เพื่อทำการจำหน่ายเอกสารสิ่งพิมพ์ทางวิชาการให้แล้วเสร็จต่อไปได้อีก ๓ ปีโดยการจัดสรรเงินสนาคุณแก่ผู้สร้างสรรค์ผลงานภายหลังการขยายลิขสิทธิ์ไห้เป็นไปตามสัญญาเดิม

(๓) การจัดพิมพ์ซ้ำ ในกรณีจำนวนเล่มของเอกสารสิ่งพิมพ์ทางวิชาการหมดลงก่อนระยะเวลา ๓ ปี หากเอกสารสิ่งพิมพ์ทางวิชาการมีคุณภาพและเป็นที่ต้องการของตลาด การพิจารณาจัดพิมพ์ซ้ำให้อยู่ในดุลยพินิจของกองบรรณาธิการ โดยการจ่ายเงินค่สมนาคุณแก่ผู้สร้างสรรค์ผลงานให้เป็นไปตามสัญญาเดิม

(๔) การจัดพิมพ์ฉบับปรับปรุงใหม่ ในกรณีที่ผู้สร้างสรรค์ผลงานได้จัดพิมพ์เอกสารสิ่งพิมพ์ทางวิชาการและจำหน่ายไปหมดแล้ว ต่อมาผู้สร้างสรรค์ผลงานได้ปรับปรุงเอกสารสิ่งพิมพ์ทางวิชาการบางส่วน และมีความประสงค์จะจัดพิมพ์เป็นฉบับปรับปรุงใหม่ ให้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์การเสนอขอจัดทำเอกสารสิ่งพิมพ์ทางวิชาการของสำนักพิมพ์สมาคมปัญญาประดิษฐ์ประเทศไทย

(๕) เอกสารสิ่งพิมพ์ทางวิชาการที่ผู้สร้างสรรค์ผลงานนำเสนอขอจัดพิมพ์นั้นต้องปราศจากภาระผูกพันใดๆ ทางกฎหมายกับบุคคลและหน่วยงานอื่นๆ หากมีการดำเนินการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเอกสารสิ่งพิมพ์ทางวิชาการนั้นๆ ทั้งทางแพ่งและทางอาญา ผู้สร้างสรรค์ผลงานและผู้สร้างสรรค์ร่วมต้องเป็นผู้รับผิดชอบแต่เพียงผู้เดียว

ข้อ ๘ ขั้นตอนการดำเนินงานก่อนการจัดพิมพ์ของสำนักพิมพ์สมาคมปัญญาประดิษฐ์ประเทศไทย

(๑) ภายหลังจากที่ผู้สร้างสรค์ผลงานได้แก้ไขต้นฉบับเป็นที่เรียบร้อยแล้ว สำนักพิมพ์สมาคมปัญญาประดิษฐ์ประเทศไทย จะดำเนินการขอเลขมาตรฐานหนังสือ (ISBN) และบรรณานุกรมของหนังสือ (CIP) เฉพาะกรณีเอกสารสิ่งพิมพ์ทางวิชาการที่เสนอขอจัดทำมีลักษณะเป็นหนังสือหรือตำรา ดำเนินการส่งพิสูจน์อักษรออกแบบ จัดรูปแบบ รูปเล่ม ภาพปก และภาพประกอบภายในเล่ม จัดหน้า และส่งผู้สร้างสรรค์ผลงานทำการตรวจทานความถูกต้องของตันฉบับก่อนส่งโรงพิมพ์ ภายในเวลา ๔๕ วัน

กรณีผู้สร้างสรค์ผลงานมีการแก้ไขเอกสารสิ่งพิมพ์ทางวิชาการระหว่างอยู่ในโรงพิมพ์ ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นผู้สร้างสรรค์ผลงานต้องเป็นผู้รับผิดชอบให้แก่สำนักพิมพ์สมาคมปัญญาประดิษฐ์ประเทศไทย

(๒) ดำเนินการจัดพิมพ์โดยโรงพิมพ์ที่สำนักพิมพ์สมาคมปัญญาประดิษฐ์ประเทศไทยจัดหา ภายในเวลา ๑ -๓ เดือน

(๓) เมื่อโรงพิมพ์จัดพิมพ์เอกสารสิ่งพิมพ์ทางวิชาการเรียบร้อยแล้ว สำนักพิมพ์สมาคมปัญญาประดิษฐ์ประเทศไทย จะจัดส่งเล่มเอกสารสิ่งพิมพ์ทางวิชาการให้ผู้สร้างสรรค์ผลงาน จำนวน ๑๐ เล่ม

ข้อ ๙ การจ่ายค่าลิขสิทธิ์ ค่าตอบแทนแก่ผู้สร้างสรรค์ผลงาน

(๑) การจ่ายเงินสมนาคุณแก่ผู้สร้างสรรค์ผลงาน สำนักพิมพ์สมาคมปัญญาประดิษฐ์ประเทศไทยจ่ายค่าลิขสิทธิ์ให้กับผู้สร้างสรรค์ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ ในอัตราร้อยละ ๒๐ – ๓๐ โดยจ่ายตามจำนวนและราคาจำหน่ายที่กำหนดโดยสำนักพิมพ์ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับคุณภาพของเอกสารสิ่งพิมพ์ทางวิชาการ และข้อตกลงระหว่างผู้สร้างสรรค์ผลงานกับสำนักพิมพ์โดยจ่ายตามยอดขายที่เกิดขึ้นจริงทุกๆ ๖ เดือน เป็นเวลา ๓ ปี ยกเว้นมีการขยายลิขสิทธิ์

(๒) การขยายลิขสิทธิ์ หากพ้นกำหนดเวลาการโอนลิขสิทธิ์ ภายในเวลา ๓ ปี แล้วแต่เอกสารสิ่งพิมพ์ทางวิชาการ ที่จัดพิมพ์ขึ้นยังจำหน่ายไม่หมด ผู้สร้างสรรค์ผลงานต้องยินยอมให้สมาคมปัญญาประดิษฐ์ประเทศไทย ขยายลิขสิทธิ์เพื่อทำการจำหน่ายเอกสารสิ่งพิมพ์ทางวิชาการให้แล้วเสร็จต่อไปได้อีก ๓ ปี โดยการจัดสรรเงินสมนาคุณแก่ผู้สร้างสรรค์ผลงานภายหลังการขยายลิขสิทธิ์ให้เป็นไปตามสัญญาเดิม

(๓) การจัดพิมพ์ซ้ำ ในกรณีจำนวนเล่มของเอกสารสิ่งพิมพ์ทางวิชาการหมดลงก่อนระยะเวลา ๓ ปี หากเอกสารสิ่งพิมพ์ทางวิชาการมีคุณภาพและเป็นที่ต้องการของตลาด การพิจารณาจัดพิมพ์ซ้ำให้อยู่ในดุลยพินิจของกองบรรณาธิการ โดยการจ่ายเงินค่าสมนาคุณแก่ผู้สร้างสรรค์ผลงานให้เป็นไปตามสัญญาเดิม

(๔) การจัดพิมพ์ฉบับปรับปรุงใหม่ ในกรณีที่ผู้สร้างสรรค์ผลงานได้จัดพิมพ์เอกสารสิ่งพิมพ์ทางวิชาการและจำหน่ายไปหมดแล้ว ต่อมาผู้สร้างสรรค์ผลงานได้ปรับปรุงเอกสารสิ่งพิมพ์ทางวิชาการบางส่วนและมีความประสงค์จะจัดพิมพ์เป็นฉบับปรับปรุงใหม่ ให้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์การเสนอขอจัดทำเอกสารสิ่งพิมพ์ทางวิชาการ ของสำนักพิมพ์สมาคมปัญญาประดิษฐ์ประเทศไทย

ข้อ ๑๐ การเผยแพร่และการจัดจำหน่าย

เมื่อเอกสารสิ่งพิมพ์ทางวิชาการได้จัดพิมพ์เรียบร้อยแล้ว สำนักพิมพ์สมาคมปัญญาประดิษฐ์ประเทศไทยจะดำเนินการประชาสัมพันธ์เพื่อการเผยแพร่เอกสารสิ่งพิมพ์ทางวิชาการ ไปยังงานประชาสัมพันธ์ผ่านทางเว็บไซต์ของสำนักพิมพ์สมาคมปัญญาประดิษฐ์ประเทศไทย ผ่านสื่อในรูปแบบต่างๆ เพื่อให้เอกสารสิ่งพิมพ์ทางวิชาการเผยแพร่ไปถึงผู้ใช้หมากที่สุด ภายในเวลา ๗ วันโดยมีช่องทางการจัดจำหน่าย ดังนี้

(๑) ผู้สร้างสรรค์ผลงาน นำไปจำหน่ายด้วยตนเอง

(๒) จำหน่ายโดยสมาคมปัญญาประดิษฐ์ประเทศไทย ณ สำนักพิมพ์สมาคมปัญญาประดิษฐ์ประเทศไทย

(๓) จำหน่ายตามแหล่งจำหน่ายอื่น เช่น ร้าน/ศูนย์หนังสือ องค์กรและหน่วยงานอื่น

ทั้งนี้ หลักเกณฑ์การจ่ายค่าตอบแทนให้กับผู้แทนจำหน่ายอื่น ให้เป็นไปตามข้อตกลงที่สำนักพิมพ์สมาคมปัญญาประดิษฐ์ประเทศไทยและตัวแทนจำหน่ายตกลงร่วมกัน

ข้อ ๑๑ ให้คณะกรรมการกองบริหารสำนักพิมพ์เป็นผู้รักษาการตามประกาศนี้ กรณีมีปัญหาจากการปฏิบัติตามประกาศฉบับนี้ ให้คณะกรรมการเป็นผู้วินิฉัย และคำวินิจฉัยนั้นให้ถือเป็นที่สุด